มาตรฐานสนามแข่งและอุปกรณ์กีฬาแบดมินตัน
แร็กเก็ต
1. เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน
680 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มิลลิเมตร ส่วนต่าง ๆ
ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 1.1 ถึง 1.5
1.1 ด้านจับ
เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
1.2
พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
1.3 หัว
บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
1.4 ก้าน
ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
1.5 คอ (ถ้ามี)
ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง
2 พื้นที่ขึงเอ็น
2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ
ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง
ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ
2.2
พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220
มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน
35 มิลลิเมตรและความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มิลลิเมตร
ที่มา: blog.eduzones.com |
3 แร็กเกต
3.1
ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา
ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่นสะเทือน
การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น
และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว
3.2
ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น