ทักษะการเล่นแบดมินตัน
ฟุตเวิร์ค (Footwork)
กีฬาแบดมินตัน
เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องมีการเคลื่อนย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลาผู้เล่นจึงต้องรู้จักการวิ่งเข้าออก
การประชิดลูกในจังหวะที่ถูกต้อง เคลื่อนย้ายตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง
ตีลูกได้ถนัด ตีด้วยความสะดวก ตีลูกด้วยความง่ายดาย
และสิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยที่สุด
ฟุตเวิร์ค
หรือจังหวะเท้าสำหรับการเล่นแบดมินตันมีความสำคัญมากที่สุด
ฟุตเวิร์คที่ดีจะทำให้การออกตัวสืบเท้า พาตัวพุ่งไปสู่ทิศทางต่าง ๆ
รอบสนามกระทำได้ด้วยความคล่องแคล่วและฉับไวเพราะหลักการสำคัญที่สุดในกีฬาแบดมินตันสำหรับผู้เล่นทุกคนที่เล่นเพื่อความเป็นเลิศในระดับแข่งขัน
จะต้องจำไว้ให้แม่นก็คือ
- จะต้องวิ่งเข้าไปหาลูกเสมอ
อย่าทิ้งช่วงปล่อยให้ลูกวิ่งมาหา
- จะต้องพุ่งตัวเข้าตีลูกให้เร็วที่สุด
และตีลูกขณะที่อยู่ในระดับที่สูงที่สุด
ภาพ: ฟุตเวิร์คกับจังหวะการตีลูก
|
เพราะฉะนั้นในเกมการเล่นแบดมินตันการคาดคะเน(Anticipation)เป้าหมายการตี กับวิธีทางตีลูกของฝ่ายตรงข้าม
จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ บางครั้งยังต้องใช้เทคนิคการ “ดักลูก”เข้ามาช่วยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นประเภทคู่จะต้องอาศัยการจับทางของคู่ต่อสู้ให้ได้มากที่สุด
เพื่อการพุ่งเข้าประชิดตีลูกในระดับบนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้การตีลูกในระดับที่สูง
จะทำให้ผู้เล่นมีโอกาส “กดลูก” บีบเกมเล่นให้ฝ่ายตรงข้ามต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับ
อีกทั้งยังมี “มุมลึก” กับ“เป้าหมาย” สำหรับการตีลูกได้มากขึ้น
ยิ่งตีลูกจากระดับสูงได้มากเท่าใดย่อมจะมี “มุมลึก” ของเป้าหมายได้มากเท่านั้น เช่นการกระโดดตบพร้อมทั้งใช้ข้อมือตวัดตีลูกจิก
จะทำให้ลูกสามารถข้ามไปในมุมที่ลึกกว่าการตบลูกจากระดับธรรมดา ถ้าทำอย่างนี้ได้
จะทำให้ลูกที่ตีข้ามไปนั้นเกิดวิถีลูกที่ข้ามไปหลากหลาย
ทำให้คู่ต่อสู้เดาการเล่นของเราไม่ถูก หรือคาด การณ์ออกว่าเราจะส่งลูกไปในลักษณะใด
ฟุตเวิร์ค จังหวะเท้าที่ดี
เริ่มต้นที่ผู้เล่นทิ้งน้ำหนักตัวบนปลายเท้าทั้งสอง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ
ไม่ควรยืนด้วยการทิ้งน้ำหนักตัวบนแผ่นเท้าทั้งสอง ในขณะที่ยืนปลายเท้า
ควรวางเท้าทั้งสองแยกจากกันเล็กน้อยตามถนัด
การยืนในลักษณะนี้ทำให้ผู้เล่นพร้อมที่จะพุ่งตัวออกจากจุดศูนย์กลางอย่างฉับไว
การพุ่งออกไปไม่ว่าจะไปทางด้านหน้า ด้านหน้าซ้ายขวา ด้านข้างซ้ายขวาหรือด้านหลัง
หรือหลังซ้ายขวา ผู้เล่นสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปครอบคลุมพื้นที่สนามได้ทั้งหมดจังหวะเท้าอาจจะซอยถี่
เป็นช่วงสั้น หรือยาวตามแต่สถานการณ์
ในกรณีที่ต้องวิ่งในระยะทางไกลควรสาวเท้าเก้ายาว
เมื่อถึงจังหวะที่จะเข้าประชิดลูกก็อาจจะซอยฟุตเวิร์คสั้นลงเพื่อเสาะหาจังหวะการตีลูกให้กับตัวตามถนัด
การสืบเท้าเข้าประชิดลูกไม่ว่าเป็นก้าวสั้นหรือก้าวยาว
ควรจะพาตัวเข้าใกล้ลูกในระยะใด ผู้เล่นควรคำนึงถึงความจริงว่า
ถ้าลูกห่างไกลจากตัวมาก ผู้เล่นจะเอื้อมตีลูกด้วยความลำบาก
แรงที่ส่งมาจากแหล่งต่าง ๆ
ของการตีลูกไม่มีโอกาสได้รวมพลังใช้อย่างเต็มที่ในทำนองเดียวกัน
ถ้าลูกประชิดในระยะใกล้เกินไป วงสะวิงของการเหวี่ยงตีลูกแคบแขนติดที่ช่วงไหล่
ก็จะทำให้แรงตีลูกไม่สามารถนำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
ระยะห่างจากตัวผู้เล่นในขณะที่เล่นควรจะอยู่ในระหว่าง 2-3
ฟุตจากลำตัวเป็นระยะที่กว้างพอสำหรับการตีลูกได้อย่างถนัดและเต็มเหนี่ยว
ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้า
จะวางอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องไม่ลืมการตีลูกเบสิคพื้นฐาน ลูกหน้ามือ
เท้าซ้ายอยู่หน้า เท้าขวาอยู่หลัง และลูกหลังมือ เท้าขวาจะอู่หน้า
เท้าซ้ายจะอยู่หลัง (สำหรับผู้เล่นที่ถนัดขวาถ้าถนัดซ้ายก็สลับกัน)
ฝึกฟุตเวิร์คจังหวะเท้าไปสักพักใหญ่ ๆ ทุกอย่างจะดำเนินไปโดยธรรมชาติ
ผู้เล่นจะไม่คำนึงหรือกังวลเรื่องของฟุตเวิร์คอีกเลย
วิดีโอ: สอนวิธีการฟุตเวิร์ค โดยอดีตเยาวชนแบดมินตันทีมชาติไทย
โค้ช เมตไตรย์ อมาตยกุล (เป้ง) อดีตเยาวชนทีมชาติไทย
โค้ช เมตไตรย์ อมาตยกุล (เป้ง) อดีตเยาวชนทีมชาติไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น